การรำเดี่ยว


โดย...จันทิมา แจ่มจำรัส


 การรำเดี่ยว 

 




 การรำเดี่ยว 

การศึกษาเรื่องการรำเดี่ยว ก่อนอื่นคงจะต้องทราบจุดมุ่งหมายของการรำเดี่ยวก่อน ดังนี้
  • ต้องการอวดฝีมือของผู้แสดง
  • พัฒนาฝีมือในการแสดง
  • สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
  • เสริมสร้างให้มีความคิดสร้างสรรค์
  • สร้างลีลาเฉพาะตัว อาทิ เช่น

    •  1.ฉุยฉายศูรปนขา

      .....เป็นการแสดงชุดหนึ่งอยู่ในโขนเรื่องรามเกียรติ์ เนื้อเรื่องกล่าวถึงนางศูรปนขาน้องสาวทศกัณฐ์หลงใหลในความงามของพระราม อยากได้พระรามมาเป็นคู่ครอง จึงได้แปลงกายเป็นสาวงามมายั่วยวนพระราม
      ...การรำฉุยฉายจึงเป็นศิลปะที่แสดงถึงความสามารถในเชิงฝีมือรำเดี่ยวที่สามารถแปลงกายได้สวยงาม
    •  2.ฉุยฉายยอพระกลิ่น
      ...เป็นการแสดงชุดหนึ่งอยู่ในละครดึกดำบรรพ์ เรื่องมณีพิชัย บทพระราชริพนธ์ของเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ตอนนี้มีอยู่ว่า พระมณีพิชัยจะต้องไปเป็นข้ารับใช้เจ้าพราหมณ์ ซึ่งแท้จริงก็คือ นางยอพระกลิ่น ผู้เป็นมเหสี ปลอมตัวมา เจ้าพราหมณ์นึกสงสารพระมณีพิชัยจึงออกอุบายว่าจะไปป่าและจะให้น้องสาวมาอยู่เป็นเพื่อน เมื่อสั่งเสร็จแล้วเจ้าพราหมณ์ก็ลงจากศาลา หลบไปปลอมตัวกลับเป็นยอพระกลิ่นตามเดิม
    •  3.ฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง

      ...เป็นการรำเลิกโรงละครไทย รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ประดิษฐ์ท่ารำและทรงพระราชนิพนธ์บทร้องขึ้น ผู้รำแต่งกายยืนเครื่องนาง 2 คน มือขวาถือกำกิ่งไม้ทอง ส่วนมือซ้ายกำกิ่งไม้เงิน รำไปตามบทร้องและทำนองฉุยฉาย เป็นแบบฉุยฉายพวง คือ ร้องรวบความจนจบท่อน โดยไม่มีปี่เป่ารับ นับเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณ
    •  4.ฉุยฉายพราหมณ์เล็กพราหมณ์โต

      ...เป็นการแสดงอยู่ในละครนอกเรื่อง สุวรรณหงส์ ตอนพราหมณ์เล็กพราหมณ์โต มีเรื่องว่า...นางเกศสุริยงออกติดตามสุวรรณหงส์มาในป่าแล้วหายไปในศาลา เมื่อกุมภณฑ์กลับมา จึงเกิดการสู้รบกุมภณฑ์ถูกพราหมณ์เกศสุริยงแผลงศรฆ่าตาย แต่ด้วยความสงสาร จึงช่วยชุบชีวิตไว้ เมื่อกุมภณฑ์ฟื้นขึ้นได้ขอติดตามเป็นบ่าวด้วยโดยแปลงกายเป็นพราหมณ์ ในวงการนาฏศิลป์เรียกพราหมณ์กุมภณฑ์ว่า "พราหมณ์โต" และเรียกพราหมณ์เกศสุริยงว่า "พราหมณ์เล็ก" ...ความแตกต่างของการแสดงชุดนี้ เป็นการร่ายรำ อวดลีลาท่าทางของตัวละคร 2 แบบ คือ พราหมณ์เล็ก รำอ่อนช้อยงดงาม ส่วนพราหมณ์โตนั้นรำด้วยลีลาตลกขบขันระคนกันไป
    • สรุปการนำเสนอการแสดงรำเดี่ยวเพื่อเป็นการพัฒนาด้านการแสดงให้เป็นที่รู้จักและเข้าใจเรื่องราว ความสวยงามของการแสดงและยังมีคุณค่าทางการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน นักศึกษาได้เป็นอย่างดี

      การรวบรวมการแสดงรำเดี่ยว ได้นำข้อมูลมาจาก "หนังสือวิพิธทัศนา" พ.ศ. 2542 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น