การรำ

โดย...จันทิมา แจ่มจำรัส





นาฏศิลป์เป็นศิลปะการแสดงด้านวิจิตรศิลป์โดยรวมเอาศาสตร์แขนงต่างๆ ผสมกลมกลืนเข้าด้วยกัน นับว่าเป็นสารที่สื่อให้เห็นสุทรียะด้วยการมองและการได้ยินเสียงประเภทหนึ่ง 
     ดังนั้น หากต้องการวิจารณ์ผลงานนาฏศิลป์ ผู้วิจารณ์จำเป็นต้องมีความรู้ในศิลปะสาขาที่วิจารณ์ มีประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะ และมีความสามารถในการสื่อสารเป็นอย่างดี จึงจะส่งผลให้การวิจารณ์ผลงานนาฏศิลป์ออกมาตรงวัตถุประสงค์และมีคุณค่า
     โดยขั้นตอนการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ตามทฤษฎีการวิจารณ์อย่างสุนทรีย์ของราล์ฟ  สมิธ มีดังนี้
    ๑. การบรรยาย 
        ผู้วิจารณ์ต้องสามารถพูดหรือเขียนในสิ่งที่รับรู้ด้วยการฟัง ดู รู้สึก รวมทั้งการรับรู้คุณสมบัติต่างๆ ของการแสดง โดยสามารถบรรยายหรือแจกแจงส่วนประกอบต่างๆ ทั้งในลักษณะการเชื่อมโยงหลักเกณฑ์ศิลปะสาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือแยกแยะเป็นส่วนๆ
    ๒. การวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ในผลงานการแสดงนาฏศิลป์ของไทย ประกอบด้วย
๒.๑  รูปแบบของนาฏศิลป์ไทย เช่น ระบำ รำ ร้องและโขน เป็นต้น
๒.๒  ความเป็นเอกภาพของนาฏศิลป์ไทย โดยผู้แสดงต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๒.๓  ความงดงามของการร่ายรำและองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ ความถูกต้องของแบบแผน
        การรำ ความงดงามของลีลาท่ารำ ความงดงามด้านวรรณกรรม ความงามของตัวละคร
        ลักษณะพิเศษในท่วงท่าลีลา เทคนิคเฉพาะตัวผู้แสดง บทร้องและทำนองเพลง
        เป็นต้น
    ๓. การตีความและการประเมินผล
        ผู้วิจารณ์จะต้องพัฒนาความคิดเห็นส่วนตัวประกอบกับความรู้ หลักเกณฑ์ต่างๆ มารองรับสนับสนุนความคิดเห็นของตนในการตีความ  ผู้วิจารณ์ต้องกล่าวถึงผลงานนาฏศิลป์โดยรวมว่าผู้เสนอผลงานพยายามจะสื่อความหมายหรือเสนอแนะเรื่องใด โดยต้องตีความการแสดงผลงานนาฏศิลป์นั้นให้เข้าใจ

        ส่วนการประเมินนั้นเป็นการตีค่าของการแสดงโดยต้องครอบคลุมประเด็น ดังนี้ แสดงได้ถูกต้องตามแบบแผน ผู้แสดงมีทักษะ สุนทรียะ มีความสามารถ และมีเทคนิคต่างๆ นอกจากนี้ ต้องประเมินรูปแบบลักษณะของงานนาฏศิลป์ ความคิดสร้างสรรค์  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น